อะเลคซันดร์ คอลชัค
อะเลคซันดร์ คอลชัค

อะเลคซันดร์ คอลชัค

อะเลคซันดร์ วาซีเลียวิช คอลชัค (รัสเซีย: Александр Васильевич Колчак; 16 พฤศจิกายน [ตามปฏิทินเก่า 4 พฤศจิกายน] ค.ศ. 1874 – 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1920) เป็นพลเรือเอกแห่งจักรวรรดิรัสเซียและนักสำรวจขั้วโลก เขารับใช้กองทัพเรือจักรวรรดิรัสเซียและได้ร่วมต่อสู้ในสงครามทั้งสองครั้งคือ สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1904–1905 และสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง[1] ต่อมาเขาเป็นผู้นำของขบวนการต่อต้านบอลเชวิคหรือที่รู้จักกันในชื่อ "ขบวนการขาว" ในช่วงระหว่างสงครามกลางเมืองรัสเซีย ซึ่งได้ก่อตั้งรัฐบาลในไซบีเรียเพื่อต่อต้านรัฐบาลของเลนินตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1918 จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1920คอลชัคเริ่มต้นอาชีพแรกจากการเป็นนักสมุทรศาสตร์และนักอุทกวิทยาในกองทัพเรือจักรวรรดิรัสเซีย ต่อมาเขาได้กลายเป็นผู้บัญชาการในการสำรวจขั้วโลกอยู่หลายครั้ง โดยได้รับการสนับสนุนจากสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งรัสเซีย[2] เกาะคอลชัคซึ่งตั้งอยู่ในทะเลคารา ได้รับการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่เขา ในช่วงสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น (ค.ศ. 1904-1905) คอลชัคได้มีโอกาสร่วมต่อสู้ในสงครามและประสบผลสำเร็จในยุทธนาวีที่พอร์ตอาเธอร์ เมื่อทุ่นระเบิดที่ถูกทิ้งโดยเรือพิฆาตที่อยู่ภายใต้บัญชาของเขา ได้จมเรือลาดตระเวนทากาซาโกะของญี่ปุ่น ในเวลาต่อมาหลังสงครามสิ้นสุดลง คอลชัคได้กลายเป็นหนึ่งในนักออกแบบเรือของกองทัพเรือรัสเซีย และได้รับเลื่อนยศเป็นเสนาธิการทั่วไปแห่งกองทัพเรือ ซึ่งมีบรรดาศักดิ์เทียบเท่ายศ "สตาฟกา"หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งปะทุขึ้น เขาได้มีส่วนร่วมในการปกป้องพื้นที่แถบทะเลบอลติก ใน ค.ศ. 1916 เนื่องจากความกล้าหาญและทักษะประสบการณ์ของเขา ทำให้คอลชัคได้รับการเลื่อนยศเป็นพลเรือโทที่อายุน้อยที่สุดของกองทัพเรือจักรวรรดิรัสเซีย หลังจากการปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์ใน ค.ศ. 1917 เขาสนับสนุนฝ่ายรัฐบาลชั่วคราวรัสเซีย โดยเชื่อว่ารัฐบาลจะสามารถส่งเสริมขวัญกำลังใจและดำเนินการทางทหารต่อไปจนสามารถเอาชนะฝ่ายมหาอำนาจกลางได้ อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ทางการเมืองเริ่มทวีความรุนแรงขึ้น ทำให้คอลชัคถูกเรียกกลับจากแนวรบเมื่อสิ้นสุดฤดูร้อนจากเหตุการณ์การปฏิวัติเดือนตุลาคมและการลงนามในสนธิสัญญาเบรสท์-ลีตอฟสก์ ทำให้เขาดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสงครามของรัฐบาลต่อต้านบอลเชวิครัสเซียแห่งออมสค์ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1918 เป็นเหตุให้นักปฏิวัติสังคมนิยมทั้งหลายถูกขับไล่ออกจากรัฐบาลแห่งออมสค์ ต่อมาคอลชัคได้ทำการรัฐประหารและสถาปนาตนเป็น "ผู้ปกครองสูงสุดแห่งรัสเซีย"[3] ถึงแม้ว่าปฏิบัติการทางทหารของคอลชัคในช่วงแรกจะประสบความสำเร็จ แต่เพราะรัฐบาลได้รับการสนับสนุนจากพันธมิตรเพียงน้อยนิด ประกอบกับการประสานงานที่ย่ำแย่และบางครั้งการบัญชาการทางทหารก็ไม่เป็นผล ภายในรัฐบาลเกิดการฉ้อราษฎร์บังหลวง และความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดกับกองทหารผ่านศึกเชโกสโลวักและผู้นำของกลุ่มชนคอสแซค ทำให้คอลชัคสูญเสียการสนับสนุนที่สำคัญจากประชากรท้องถิ่นและกองกำลังทหารของเขาเอง ในช่วงปลาย ค.ศ. 1919 กองกำลังทหารที่หลงเหลืออยู่และพลเรือนหลายแสนคนต่างพากันหลบหนีการรุกรานจากบอลเชวิคที่สามารถยึดออมสค์ได้ในเดือนพฤศจิกายน ในเวลาต่อมาคอลชัคถูกจับกุมและส่งตัวไปยังอีร์คุตสค์โดยกลุ่มกบฏที่ต่อต้านเขา คอลชัคถูกสอบสวนโดยเจ้าหน้าที่บอลเชวิคและถูกตัดสินประหารชีวิตในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1920

อะเลคซันดร์ คอลชัค

การยุทธ์ สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
สงครามกลางเมืองรัสเซีย
เกิด 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1874
เซนต์ปีเตอส์เบิร์ก จักรวรรดิรัสเซีย
สังกัด
ยศ พลเรือโท
พลเรือเอก
รับใช้
ถัดไป อันตอน เดนีกิน
(โดยพฤตินัย)
คู่สมรส โซเฟีย เฟโดรอฟนา โอมีโรวา คอลชัค
บุตร รอสติสลาฟ คอลชัค
เสียชีวิต 07 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1920 (45 ปี)
อีร์คุตสค์ รัฐรัสเซีย
ก่อนหน้า สถาปนาตำแหน่ง
(นีโคไล แอฟค์เซนเตียฟ ในฐานะประธานแห่งรัฐบาลชั่วคราวแห่งรัสเซียทั้งปวง)
ประจำการ 1886–1920

ใกล้เคียง

อะเลคซันดร์ คอลชัค อะเลคซันดร์ เคเรนสกี อะเลคซันดร์ รุตสคอย อะเลคซันดร์ โซลเซนิตซิน อะเลคซันดร์ โกโลวิน อะเลคซันดร์ เยโกรอฟ (ทหาร) อะเลคซันดร์ อุลยานอฟ อะเลคซันดร์ ตอร์มาซอฟ อะเลคซันดร์ พุชกิน อะเลคซันดร์ ซูโวรอฟ

แหล่งที่มา

WikiPedia: อะเลคซันดร์ คอลชัค http://books.google.es/books?id=60IR0G5ENTIC&lpg=P... http://books.google.es/books?id=QW2mAAAAIAAJ&lpg=P... http://books.google.es/books?id=gAcOAAAAQAAJ&lpg=P... http://books.google.es/books?vid=ISBN9780521029070... http://uli.nli.org.il/F/?func=find-b&local_base=NL... http://data.bibliotheken.nl/id/thes/p070198381 http://journals.cambridge.org/action/displayAbstra... http://www.jstor.org/stable/1987147 http://www.jstor.org/stable/40868699 http://www.jstor.org/stable/4202781